วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แหล่งที่มาของข้อมูล

แหล่งที่มา
http://www.swu.ac.th/royal/book6/b6c3t1.html
http://www.redcross.or.th/service/vol-rcy.php
http://www.waiza.com/forum/index.php?topic=19362.0
http://art-culture.chiangmai.ac.th/

การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย


ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย

วัฒนธรรมหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี การละคร วรรณกรรม


วัฒนธรรมไทยจะมีลักษณะเด่นดังนี้

- การมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ศาสนาพุทธ หมายถึงศาสนาแห่งความรู้แจ้ง เป็นสรณะอันสูงสุด เปรียบด้วยวัตถุวิเศษที่มีราคาอย่างสูง คือ แก้ว จึงเรียกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า รัตนะ คำว่า “รัตนะ” แปลว่าแก้ว,สิ่งมีค่าสูงยิ่ง,สิ่งประเสริฐ ซึ่งคำว่ารัตนะในที่นี้จะหมายถึง พระรัตนตรัย ซึ่งก็คือแก้ว 3 ดวง ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็คือนับถือแก้ว 3 ดวงนี้ว่ามีคุณ ย่อมจะเป็นที่พึ่งที่ระลึกแก่ตน


- การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สังคมไทยนั้นมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากษัตริย์ไทยปัจจุบันที่ได้พยายามพัฒนาสังคมไทยความดีงามของพระองค์ทำให้พระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมยิ่ง



- อักษรไทยและภาษาไทย

สังคมไทยย่อมมีอักษรไทยใช้มาก่อนหน้าสมัยกรุงสุโขทัยได้รับการพัฒนาอักษรไทยเรื่อยมา อักษรไทยจึงจัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง





- จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย



คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อมและรู้จักปรบตัวให้เข้ากับสังคมได้ดีด มีการแสดงความเคารพที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของสังคมอื่น เช่น การยิ้มแย้มทักทายปราศรัย การไหว้ เป็นต้น

วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม




วิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

- . ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ประหยัดถุงพลาสติกได้โดยการใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หากถุงพลาสติกสกปรก ก็ให้ทำความสะอาดแล้วแขวนไว้ให้แห้ง เพื่อส่งกลับเข้าโรงงานสำหรับผลิตใหม่


- . แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น โปรดหลีกเลี่ยงการทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่น ๆ เพราะจะทำ ให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมัน และเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไปผลิตใหม่อีกไม่ได้


- . พลาสติกรีไซเคิล ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 200 แห่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกได้ทำการรีไซเคิลพลาสติก จำนวน 20% จากขวดเครื่องดื่ม พลาสติกที่ทำจาก Polyethylene Terephthalate หรือ PET จะถูกนำไปรีไซเคิล เป็นด้ามเครื่องจับไฟฟ้า กระเบื้องปูพื้น เส้นใยสังเคราะห์ในหมอน หรือใช้บุเสื้อแจ็คเก็ต
- . วิธีล้างรถยนต์ ล้างรถยนต์ด้วย ฟองน้ำ และใช้ถังน้ำจะใช้น้ำเพียง 15 แกลลอน แต่ถ้าล้างด้วยสายยางจะต้องสูญเสียน้ำถึง150 แกลลอน



- . ปลูกต้นไม้ในห้องช่วยลดมลพิษ ปลูกต้นไม้ในห้อง โดยปลูกไม้กระถางผสมถ่านกับดิน ถ่านจะเป็นตัวช่วยดูดซับสารมลพิษและจุลินทรีย์ภายในห้องได้


- . ผักปลอดสารพิษ เมื่อใดก็ตามที่ได้ลงมือทำสวนครัวด้วยตนเอง เมื่อนั้นเราจึงจะเชื่อมั่นได้อย่างแน่นอนว่าเรากำลังมีโอกาสได้กินพืชผักที่ปลอดจากยาฆ่าแมลงแล้วจริงๆ


- . ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้ว ดื่มน้ำสะอาดให้หมดแก้วทุกครั้งอย่าเหลือทิ้ง เพราะน้ำสะอาดมีเหลืออยู่น้อยในโลกนี้ และกระบวนการทำน้ำให้สะอาดก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา


- . การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำผสมสบู่ บิดให้หมาดแล้วใช้เช็ดถูเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นใช้ผ้าแห้งซ้ำอีกครั้ง


- . หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงาน การใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน 1 หลอด แทนการใช้หลอดไฟฟ้าแบบฟลูออเรสเซนต์ จะช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นปริมาณเท่ากับ ถ่านหินหนัก 600 ปอนด์ ตลอดชั่วอายุของหลอดไฟฟ้าตลอดนั้น



-. การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพราะการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกทำให้เราสามารถลดจำนวนขยะไปในตัวได้

กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์


กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หมายถึง “การที่ผู้เรียนปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้และการเพิ่มพูนผลประโยชน์” ซึ่งการเพิ่มพูนประโยชน์ เป็นการทำให้ตนเองเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น หรือการช่วยเหลือผู้อื่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของนักศึกษามีหลายลักษณะ ซึ่งอาจเป็นโครงการทำความสะอาด ซ่อมแซม หรือ อาจสร้างสาธารณสมบัติ เป็นต้น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่นักศึกษาให้ความสนใจและรู้จักดีคือ กิจกรรมค่ายอาสาสมัคร หรือ ค่ายอาสาพัฒนา หรือค่ายอาสาพัฒนา การบำเพ็ญประโยชน์นั้นไม่ใช่เฉพาะจะต้องบำเพ็ญประโยชน์ทางศาสนาเท่านั้นแต่คำว่าบำเพ็ญประโยชน์นั้นคือการทำเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนทั้งปวง




การบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคเพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้


การเป็นอาสาสมัคร
ประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติภายใต้สังกัดฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้จัดให้มีการบำเพ็ญประโยชน์ตามสถานที่สาธารณะถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาส 12 สิงหามหาราชินี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ซึ่งนำทีมโดยผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษาร่วมกันทำความสะอาด เช่น กวาดถนน ถางหญ้าริมทางเดิน ตัดแต่งกิ่งไม้ที่รกรุงรังตามบริเวณรอบรั้ววิทยาลัยโดยรอบ

การส่งเสริมสุขภาพ



การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง "กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมและการส่งเสริมให้สุขภาพของตนเองดีขึ้น ในการที่จะบรรลุสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ เรื่องสุขภาพจึงถูกมองในลักษณะของความจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน มิใช่เป็นเพียงจุดมุ่งหมายของการดำรงชีวิตเท่านั้น สุขภาพเป็นคำที่มีความหมายในทางบวก การส่งเสริมสุขภาพจึงมิใช่เป็นความรับผิดชอบขององค์กรในภาคสาธารณสุขเท่านั้น



การออกกำลังกาย หมายถึง การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม หรือคงไว้ซึ่งความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและปอด โดยมีขบวนการใช้ออกซิเจน ในขบวนการเผาผลาญ เพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจึงมีชื่อเรียกการออกกำลังกายชนิดนี้ว่า AEROBIC EXERCISE







ประโยชน์ต่อสุขภาพ


1. ระบบไหลเวียนโลหิต
1.1 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงมากขึ้น สามารถสูบฉีดโลหิตได้ปริมาณมากขึ้น
1.2 เพิ่มหลอดโลหิตฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
1.3 ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งในขณะพัก และออกกำลังกาย ทำให้ไม่


2. ระบบหายใจ
2.1 ความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมากขึ้น
2.2 เพิ่มปริมาณโลหิตไปสู่ปอด ทำให้การไหลเวียนของปอดดีขึ้น
2.3 เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น


3. ระบบประสาทและจิตใจ
3.1 ลดความวิตกกังวลและคลายความเครียด
3.2 มีความสุขและรู้สึกสบายใจจากสาร Endorphin ที่หลั่งออกมาจากสมองขณะออกกำลังกาย




การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ



อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีใดๆ ในรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา และวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร อาหารเป็นแหล่งให้พลังงานและสารอาหาร ที่จะนำไปสร้างและซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานปกติ ร่างกายเจริญเติบโต มีพัฒนาการและสุขภาพที่ดี จึงมีคำกล่าวว่า “เราจะเป็นสิ่งที่เรากิน (We are what we eat)” อาหารมีหลากหลายชนิดและให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายต่างกัน การรับประทานอาหารจึงมีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการมีอายุยืน






1. รับประทานอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารจำเป็นเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะแตกต่างกันตามวัย เพศ อาชีพ ขนาดของร่างกาย พันธุกรรม ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ







2. รับประทานอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารสมดุลได้สัดส่วน โดยรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยมีโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรท และ 55 ของพลังงานทั้งหมดต่อวันตามลำดับ อาหารแต่ละหมู่จะมีสารอาหารหลายชนิด แต่มีสารอาหารบางตัวเป็นสารอาหารหลักมากกว่าสารอาหารอื่น อาหาร 5 หมู่ คือ 1) ข้าว แป้ง น้ำตาล มีคาร์โบไฮเดรทเป็นสารอาหารหลัก 2) เนื้อ นม ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง มีโปรตีนเป็นสารอาหารหลัก 3) ไขมัน น้ำมัน มีไขมันเป็นสารอาหารหลัก 4) พืชผัก มีเกลือแร่และวิตามินเป็นสารอาหารหลัก วิตามินที่มีมาก คือ วิตามินซี ผักจะมีคาร์โบไฮเดรทมากน้อยต่างกันตามชนิด และ 5) ผลไม้ มีเกลือแร่และวิตามินเป็นสารอาหารหลักเช่นเดียวกับผัก แต่มีคาร์โบไฮเดรทสูงกว่าผัก เกือบทุกชนิดให้วิตามินซีสูง สารอาหารแต่ละประเภทมีประโยชน์ต่อร่างกายต่างกัน

















3. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ คือ สด สะอาด สุก และปลอดภัยจากสารพิษหรือสารปนเปื้อน หมุนเวียนชนิดของอาหารและวิธีการปรุงอาหารไม่ให้ซ้ำซากจำเจ ปรุงอาหารด้วยวิธีการที่เหมาะสมสามารถรักษาคุณค่าของสารอาหาร ช่วยให้ย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

4 . รับประทานอาหารอย่างผ่อนคลายอารมณ์ดี เคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด นึกถึงแต่ความสุข นึกถึงชาวนาชาวสวนไม่รับประทานทิ้งขว้าง รับประทานพอประมาณจวนอิ่มแล้วหยุด ไม่รับประทานมากเกินไป หากรับประทานอาหารอย่างมีความสุขมื้อละ 30 นาที เท่ากับเราจะมีความสุขวันละ 90 นาที

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง





เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี



ปรัชญาเศรษฐกิจ


ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี





ความเป็นมา

๑.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคง

๑.๒ อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและมีการตีความที่หลากหลายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อ ความคิดและเชื่อมต่อการขยายผล แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง

๑.๓ สำนักงานฯ ได้เสนอ การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๔๖ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ และคณะกรรมการฯ มีมติให้ความเห็นชอบต่อ ดังกล่าว ว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรสนับสนุน โดยมีข้อเสนอแนะให้เน้นการมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม วิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้ความเข้าใจ การวัดผลสำเร็จเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับเชิงปริมาณ และให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนฯต่อไป






หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
- ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
- การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล






ทฤษฎีใหม่


เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคีเศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสมทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว